สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เตือนภัย บริษัทให้กู้สินเชื่อบ้านและที่ดินไม่จดจำนอง ไม่ให้คู่สัญญา แถมดอกเบี้ยงอก
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เตือนภัย บริษัทให้กู้สินเชื่อบ้านและที่ดินไม่จดจำนอง ไม่ให้คู่สัญญา แถมดอกเบี้ยงอก ผู้บริโภคเสี่ยงถูกฟ้อง พร้อมเร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหา กำกับดูแลอย่างเข้มงวด


จากการรับฟังข้อมูลจาก สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ทนายจิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค และ นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่าช่วงนี้ปัญหาผู้บริโภคมีปัญหาเกี่ยวกับสินเชื่อมากมาย จนเรื่องล่าสุดพบ ผู้รับผลกระทบจำนวนมากจากการกู้สินเชื่อบ้าน และที่ดินไม่จดจำนอง จากบริษัทเงินกู้รายหนึ่ง แต่พบว่า เกิดปัญหามากมาย ไม่ใช่แค่รายเดียว แต่มีหลายรายด้วยกัน
ปัญหาที่พบเจอจากผู้ขอกู้กับบริษัทรายเช่น
- คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
- ไม่ส่งมอบสัญญาคู่ฉบับให้ผู้บริโภค
- โฆษณาฟรีค่าธรรมเนียม แต่สุดท้ายเรียกเก็บ
- ขายประกันชีวิตและประกันวินาศภัยพ่วง โดยไม่ให้สิทธิผู้บริโภคในการปฎิเสธ
- จ่ายเงินไม่ครบ ตามสัญญา
- พนักงาน (บางสาขา) ไม่มีใบอนุญาติขายประกันภัย
- จำกัดการชำระเงินต้น และกำหนดชำระภายใน 12 เดือน
- ผู้กู้บางรายชำระหนี้ได้ครบ แต่บริษัทไม่คืนโฉนด และ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยังอยู่ในหลายกระบวนการมีทั้งคดีแดง คดีดำ หรือกำลังคุยและยื่นเรื่อง ทั้งยังมาเพจของสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ของ เว็บไซต์ของสถาบันอิศรา และ เพจทนายคลายทุกข์ ซึ่งทางสอบ. ได้เคยส่งหนังสือให้ทางบริษัทแห่งนั้นได้ชี้แจง และทางบริษัทนั้นได้ส่งหนังสือกลับมา

โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีการส่งหนังสือชี้แจงของบริษัทศรีสวัสดิ์ว่า เนื้อความที่ระบุในจดหมายดังกล่าวไม่ได้ชี้แจงถึงปัญหาอย่างตรงประเด็น ทั้งยังมีข้อความบางส่วนที่อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ เช่น บอกว่าการไม่ส่งมอบคู่ฉบับสัญญานั้นไม่กระทบต่อผู้บริโภค การหยิบยกอีกบริษัทหนึ่งขึ้นมาเปรียบเทียบกับ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 2014 จำกัด ทั้งที่เป็นคนละบริษัทและได้รับใบอนุญาตไม่เหมือนกัน เป็นต้น
โสภณ อธิบายว่า สำหรับกรณีการไม่ส่งมอบสัญญาคู่ฉบับให้ผู้บริโภค ซึ่งทางบริษัทชี้แจงว่าได้แจ้งต่อผู้ขอรับสินเชื่อทุกราย ว่าสามารถติดต่อขอรับสำเนาเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ในภายหลังตามความสะดวก พร้อมระบุว่า หากมีการฟ้องร้อง บริษัทจะต้องชี้แจงรายละเอียดรวมถึงนำส่งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ศาลและผู้ขอรับสินเชื่อได้พิจารณาโดยละเอียดอยู่แล้ว นั่นแปลว่า บริษัทฯ ไม่ได้ส่งคู่ฉบับสัญญาให้ผู้บริโภคจริง
สภาองค์กรฯ ยืนยันว่าการไม่ส่งมอบสัญญาคู่ฉบับนั้น เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคแน่นอน และตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งมอบสัญญา รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้บริโภคทันทีเมื่อลงนามในสัญญา ไม่ใช่สร้างภาระให้ผู้บริโภคต้องติดตามขอรับเอกสารในภายหลัง ซึ่งกฎหมายกำหนดโทษของผู้ประกอบการที่ไม่นำส่งคู่ฉบับไว้ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” โสภณกล่าว
ส่วนกรณีการขายประกันพ่วงโดยไม่ให้สิทธิปฏิเสธนั้น แม้บริษัทแจ้งว่ามีนโยบายชัดเจนว่า ผู้ขอรับสินเชื่อไม่มีหน้าที่หรือเงื่อนไขใดๆ ในการซื้อประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยกับบริษัท มีใบอนุญาตนายหน้าขายประกันตามกฎหมาย ย่อมทราบดีถึงกฎระเบียบในการขายประกัน ว่าผู้ขายประกันจะต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น แต่กลับปล่อยให้พนักงานบางสาขาของบริษัทขายประกันโดยไม่มีใบอนุญาต และสุดท้ายบริษัทได้ผลประโยชน์ค่านายหน้าการขายประกันตกได้แก่บริษัทนั้น กรณีย่อมแสดงให้เห็นว่าบริษัทรู้หรือควรจะรู้หรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดดังกล่าว ดังนั้นบริษัทจึงต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภคตามกฎหมาย
และยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังเป็นข้อถกเถียง ลองเข้าอ่านรายละเอียดตามต่อกันที่ เว็บไซต์ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) นะครับ https://www.tcc.or.th/